วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สูตรเด็ดเชฟแนะนำ

blueCheese

บลูชีสดิปกับผักสด

สูตรโดย Marco P. Bruschweiler

ไวกิ้งดานาบลูชีส ถูกค้นพบโดยผู้ผลิตชีสชาวเดนมาร์กเพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่ๆของบลูชีส ชีสนี้ทำมาจากน้ำนมวัว มีกลิ่นรสแรง เค็ม และมีลักษณะสัมผัสเหมือนครีม เนื้อชีสมีสีขาวและมีราสีฟ้า (Penicillium) ปกคลุมอยู่ทั่วทั้งก้อน Danablu Cheese ใช้เวลาบ่มนาน ประมาณ 2-3 เดือน มีเปอร์เซ็นต์ไขมัน 50-60% เก็บรักษาด้วยกระดาษอลูมิเนียมฟอยล์เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของชีส เหมาะที่จะนำไปทานคู่กับสลัดหรือเป็นซอสก็ได้

ส่วนผสม

  • ดาน่าบลูชีส ตราอาร์ล่า (ขูดเป็นชิ้นเล็ก) 200 กรัม
  • วิปปิ้งครีม ตราอาร์ล่า 100 มิลลิลิตร
  • ไข่แดง 1 ฟอง
  • เกลือและพริกไทย 5 กรัม
  • กระเทียม (สับละเอียด) 1 หัว
  • เนยสด ตราเพรสซิเดนท์ (อ่อนตัว) 50 กรัม
  • หัวหอมใหญ่ (สับ) 60 กรัม
  • พาสเล่ย์ (สับ) 30 กรัม
  • แครอท (หั่นเป็นท่อนยาว) 150 กรัม
  • คึ่นฉ่าย (หั่นเป็นท่อนยาว) 150 กรัม
  • หัวไชเท้า (หั่นเป็นท่อนยาว) 150 กรัม
  • แตงกวา (หั่นเป็นท่อนยาว) 150 กรัม
วิธีทำ
  1. ผสมดาน่าบลูชีสที่ขูดเป็นชิ้นเล็กๆ กับวิปปิ้งครีม ในอ่างผสม
  2. เติมเนยที่ทำละลาย, กระเทียมและหัวหอมใหญ่ และพาสเล่ย์ที่สับละเอียดลงไป จากนั้นเติมไข่แดง นำไปตีในเครื่องผสม (หรือใช้ตะกร้อมือตีก็ได้) จนเนื้อเนียนเข้ากัน ปรุงรสด้วยเกลือและพริกไทย นำไปแช่ตู้เย็นประมาณ 1 ชม. ก่อนเสิร์ฟ
  3. ปอกเปลือกแครอทและหัวไชเท้า แล้วนำมาหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 10-12 ซม. แช่ในน้ำเย็นประมาณ 1 ชม.
  4. นำคื่นฉ่ายและแตงกวาที่หั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 10-12 ซม.ไปแช่ในน้ำเย็นประมาณ 1 ชม.
  5. จัดเสิร์ฟบลูชีสดิป พร้อมกับความกรอบ อร่อยของผักที่แช่เย็น

บลูชีส

บลูชีส อร่อยขึ้นรา

   บลูชีส ชีสอร่อยจากราสีฟ้า
           ในบรรดาชีสทั้งหมดที่มีมากกว่า 3,000 ประเภททั่วโลก ไม่กล่าวถึงบลูชีสไม่ได้เลย เพราะ บลูชีส เป็นชีส ประเภทหนึ่งที่มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ทั้งหน้าตา รวมไปถึงกลิ่นและรสชาติ บางคนเรียกบลูชีสว่า “ชีสเน่า” เพราะกลิ่นที่รุนแรงเฉพาะตัว และสายของราสีน้ำเงินปนเขียวซึ่งขึ้นแทรกอยู่ทั่วเนื้อชีสจึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า “บลูชีส”
          กำเนิดของบลูชีสมาจากความบังเอิญโดยแท้ เมื่อนานมาแล้ว ชายเลี้ยงแกะผู้หนึ่งลืมชีสที่เขาบ่มไว้ในถ้ำแถบ โร้คฟอร์-ซูร์-ซูลซง (Roquefort) แคว้นมีดิ ปีเรเน (Midi-Pyrenees) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ผ่านไปหลาย
เดือนจึงกลับไปดู พบว่าชีสนั้นเต็มไปด้วยลวดลายของรา ครั้นเมื่อลองชิมพบว่าปลอดภัยและอร่อยดี Roquefort Cheese หนึ่งในบลูชีสที่ดีที่สุดของเมืองน้ำหอมจึงถือกำเนิดขึ้นนับแต่นั้น
          นอกจากโร้คฟอร์ชีสแล้ว อีกหนึ่งบลูชีสสัญชาติฝรั่งเศสที่โด่งดังไม่แพ้กัน คือ เบลอ โดแวร์ญ (Bleu d’Auvergne) ที่มีถิ่นฐานจากแคว้นอูแวง ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ส่วนบลูชีสสัญชาติอื่นที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลย ได้แก่Gorgonzola จากอิตาลี Stilton จากเกาะอังกฤษ Danablu จากเดนมาร์ก Bavarian Blue จากเยอรมนี Cabrales จากสเปน และ Maytag Blue จากสหรัฐอเมริกา
          จากจุดกำเนิดด้วยความบังเอิญ ในปัจจุบัน บลูชีส ถูกผลิตอย่างจงใจให้เกิดรา โดยสปอร์ของเชื้อราที่ใส่ลงไประหว่างผลิตมี 2 ชนิด คือ Penicillium roque-forti และ Penicillium glaucum และเพราะเชื้อราจะเติบโตได้ดีเมื่อโดนอากาศ บลูชีสจึงถูกเจาะหรือแทงให้เป็นรูเพื่อเพิ่มพื้นผิวสัมผัสอากาศให้สายราแทรกซึมทั่วทั้งก้อน ส่วนใหญ่บลูชีสจะถูกบ่มไว้ในถ้ำหรือห้องใต้ดิน ยิ่งบ่มนานบลูชีสก้อนนั้นจะยิ่งมีรสเข้มข้นและผิวเรียบสวย ส่วนสี กลิ่น รส จะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของราและส่วนผสมอื่น ๆ บลูชีสมีทั้งที่ทำจากนมวัว นมแพะ และนมแกะ ส่วนสิ่งที่คุณจะสัมผัสได้จากบลูชีสทุกก้อนคือ กลิ่นเหม็นเฉพาะตัวและรสชาติเค็ม จัดจ้าน
Penicillium roqueforti                                 
 Penicillium roque-forti                                            Penicillium glaucum 
   รวมมิตร “บลูชีส” รอบโลก           โดยทั่วไปคนไทยมักไม่ถูกจริตกับบลูชีส เนื่องด้วยทั้งหน้าตาและกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่ควรพลาดทำความรู้จักบลูชีสขึ้นชื่อเหล่านี้

   โร้คฟอร์ชีส (Roquefort)           ชีสนี้เป็นต้นกำเนิดบลูชีสจากฝรั่งเศส ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในบลูชีสที่ดีที่สุดของโลก ทำจากนมแกะ ลักษณะเป็นเนื้อครีม นุ่ม ละลายในปาก บ่มนานไม่ต่ำกว่า 4 เดือน นิยมใส่สลัดพาสต้า เป็นของหวานหรือของกินเล่น โร้คฟอร์จะอร่อยยิ่งขึ้นเมื่อกินคู่กับผลไม้เปลือกแข็งหรือลูกฟิก
  เบลอ โดแวร์ญ (Bleu d’Auvergne)
          บลูชีสเบอร์สองของฝรั่งเศส ทำจากนมวัว เป็นชีสเนื้อครีม ชุ่มฉ่ำ หอมกลิ่นสมุนไพรและดอกไม้ป่า มีรสจัด แต่อ่อนกว่าและราคาถูกกว่าโร้คฟอร์ นิยมใส่ในสลัดหรือกินเล่น เบลอ โดแวร์ญจะอร่อยที่สุดเมื่อเสิร์ฟที่อุณหภูมิห้อง
  กอร์กอนโซลา (Gorgonzola) 
          สุดยอดบลูชีสของอิตาลี ผลิตในแคว้นลอมบาร์ดี ทำจากนมวัว ลักษณะเป็นเนื้อครีม รสอ่อน ใช้เวลาบ่มนาน 3 - 6 เดือน และมีไขมันเป็นส่วนประกอบถึง 48 เปอร์เซ็นต์ กอร์กอนโซลาจะให้รสชาติดีที่สุดเมื่อเสิร์ฟที่อุณหภูมิห้อง นิยมใส่สลัดอาหารประเภทเนื้อ พาสต้า ขนมหวาน หรือกินเล่น
  สติลตัน (Stilton) 
          บลูชีสจากเมืองผู้ดีที่อาจเรียกได้ว่าเป็นราชาแห่งบลูชีส สติลตันทำจากนมวัว มีเนื้อแน่น และรสชาติอ่อนกว่าโร้คฟอร์และกอร์กอนโซลา หน้าตาภายนอกเหมือนก้อนหินที่ปกคลุมด้วยไลเคนบ่มนานราว 9 - 15 สัปดาห์ มีปริมาณไขมัน 55 เปอร์เซ็นต์ เข้ากันได้ดีกับลูกแพร์นิยมนำมาใส่สลัด เป็นของหวานหรือกินเล่น ควรฝานเปลือกนอกทิ้งก่อนรับประทาน
  ดานาบลู หรือ แดนิช บลู (Danablu หรือ Danish Blue)
          บลูชีสเนื้อครีมของชาวเดนมาร์ก ทำจากนมวัว รสเข้ม เค็ม และมีกลิ่นโลหะ บ่มนานราว 2 - 3 เดือน  มีไขมัน 50 - 60 เปอร์เซ็นต์ นำมาใส่สลัด พาสต้า หรือกินเล่น  บาวาเรียนบลู (Bavarian Blue) 
           บลูชีสเนื้อครีมจากแคว้นบาวาเรียในเยอรมนีทำจากนมวัวพาสเจอไรซ์แล้วเติมครีมลงไปทีหลัง รสชาติอ่อน เนื้อชีสขาว ประปรายด้วยสายรา นิยมใส่ในสลัดหรือกินเล่น
  กาบราเลส (Cabrales) 
          บลูชีสเนื้อครีมชื่อดังจากแดนกระทิงดุ ผลิตในแคว้น Asturias ทำจากทั้งนมวัวผสมนมแพะและนมแกะ  นิยมห่อด้วยใบเมเปิ้ลและบ่มในถ้ำหินปูนนาน 2 - 3 เดือน เนื้อนุ่มปานกลาง ร่วน รสเข้ม มีกลิ่นฉุน นิยมใส่ในสลัดและอาหารจานเนื้อ
  เมย์ทากบลู (Maytag Blue) 
          ของดีจากเมืองลุงแซม ผลิตที่รัฐไอโอวาตั้งแต่ปี1941 ทำจากนมวัว มีรสเข้ม กลิ่นฉุน เนื้อครีมค่อนข้างร่วน ใช้เวลาบ่มไม่ต่ำกว่า 6 เดือน นิยมใส่ในสลัดหรือกินเล่น

  จับคู่บลูชีสกับไวน์          จะกินบลูชีสให้อร่อยต้องจับคู่กับไวน์ให้ถูกต้อง โดย บลูชีสที่มีรสอ่อนควรกินคู่กับไวน์ขาว เช่น Vouvray, Chenin Blanc หรือ Rose ส่วน บลูชีสรสเข้มเหมาะกับไวน์แดงเข้มข้น อย่าง Rhones หรือ Shiraz และการจับคู่ที่ถือเป็นเพอร์เฟ็คท์แมทช์ตลอดกาล คือ โร้คฟอร์ชีส กับไวน์ Muscat หรือ Sauternes โดยรสเข้ม เค็มจัดของชีสจะถูกเจือจางด้วยรสไวน์ แถมยังช่วยดึงรสหวานของนมแกะให้เด่นชัดขึ้นด้วยส่วน เบลอ โดแวร์ญ นั้นเหมาะกับ Sauternes รวมทั้งไวน์แดงอย่าง Cahors หรือ Cotes du Rhone

          กอร์กอนโซลา ไปได้สวยกับ Bordeaux, Sauternes และ PinotNoir สติลตัน เข้ากันดีกับ Port, Sauternes,Muscat หรือ Amontil-lado Sherry บาวาเรียนบลู เมื่อเป็นจานเรียกน้ำย่อยจะเข้ากันกับไวน์สีชมพูอย่าง Beaujolais และไวน์ขาว California Chardonnay หรือ Viognier แต่เมื่อรับประทานเป็นของหวานควรจับคู่กับ Sauternesหรือ German Riesling กาบราเลส จากสเปนเหมาะกับรสหวานของPedro Ximen z Sherry และไวน์ขาว Sauternes ในขณะที่ เมย์ทากบลู เหมาะกับไวน์สัญชาติเดียวกันอย่าง Zinfandel และไวน์หวาน เช่น  Sauterne, Tokaji หรือ Ruster Ausbruch
สารอาหารปริมาณ
น้ำ
พลังงาน
โปรตีน
ไขมัน
แคลเซียม
แมกนีเซียม
ฟอสฟอรัส
โพแทสเซียม
วิตามินเอ
สังกะสี
ทองแดง
แมงกานีส
ไทอามีน
โฟเลท
เรตินอล
เบต้าแคโรทีน
วิตามินบี 
กรดกลูตามิก
42 
353 
21 
28 
528 
23 
387 
256 
763 




36 
192 
74 

5
กรัม 
แคลอรี
กรัม 
กรัม 
มิลลิกรัม 
มิลลิกรัม 
มิลลิกรัม 
มิลลิกรัม 
ไอยู 
มิลลิกรัม 
มิลลิกรัม 
มิลลิกรัม 
มิลลิกรัม 
ไมโครกรัม 
ไมโครกรัม 
ไมโครกรัม 
ไมโครกรัม 
กรัม

รู้ไว้ใช่ว่า กมบาลู (Combalou) คือชื่อภูเขาตั้งตระหง่านในเมืองโร้คฟอร์ ต้นกำเนิดของโร้คฟอร์ชีส ในอดีตภูเขาแห่งนี้เกิดการถล่มลึกลงไปใต้ดินถึง 200 เมตร กลายเป็นโพรงถ้ำที่มีสภาพอากาศเฉพาะตัวไม่เหมือนที่ไหน ด้วยอุณหภูมิคงที่ราว 6 - 9 องศาเซลเซียส และความชื้น 97 - 99  เปอร์เซ็นต์ สภาวะพิเศษเช่นนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพักบ่มชีส และให้เอกลักษณ์เฉพาะตัวแก่โร้คฟอร์ชีส หนึ่งในบลูชีสซึ่งเป็นที่นิยมที่สุดจนปัจจุบัน

วันสำคัญในประเทศฝรั่งเศส

Les fêtes françaises

Le Nouvel An: (31 décembre-le 1er janvier)
A minuit du 31 décembre, on réveillonne, on  s'embrasse et on prononce les voeux traditionnels "Bonne et heureuse année". On donne des étrennes aux enfants.
วันขึ้นปี้ใหม่(31 ธันวาคม - 1 มกราคม)
เที่ยวคืนวันที่ 31 ธันวาคม มีการฉลอง การกอดและประเพณีการอธิฐานว่า"Bonne et heureuse année".และการใหเงินแก่เด็กๆ

L'Epiphanie, la fête des rois: (le 6 janvier)
On mange une galette des rois. Elle caxhe "la fève" dans sa pâte. Celui qui trouve la fève devient roi ou reine de la fête.
L'Epiphanie เป็นวันกษัตริย์(6 มกราคม)
ประเพณีนี้มีการทานขนม une galette หาถั่วอยู่ในแป้งสาลี คนที่หาถั่วเจอจะกลายเป็นกษัตริย์หรือราชินี ถือเป็นประเพณีการเล่นแบบหนึ่งของเด็ก

La Chandeleur: (le 2 février)
La fête de la Vierge quelues semaines après la naissance de l'Enfant Jésus. Aujourd'hui, le nom est resté mais la tradition a changé. A la maison, on fait des crêpes qu'on doit faire sauter en l'air d'un habile "coup de poêle"
วัน la Vierge วันของพระแม่หลังจากสัปดาห์วันเกิดของพระเยซู วันนี้ยังคงมีชื่ออยู่แต่ประเพณีมีการเปลี่ยนแปลง มีการทำเครป โดยต้องโยนกลางอากาศอย่างคล่องแคล่ว ว่า "coup de poêle"

Mardi gras: (40 jours avant Pâques)
On se déguise. C'est l'époque des défilés de Carnaval. C'est aussi la période des vacances d'hiver.
 Mardi gras(40วันก่อนวัน Pâques)
มีการแต่งตัวแฟตาซีเป็นช่องเวลาการเดินขบวน Carnava แล้วเป็นช่วงวันหยุดฤดูหนาวเช่นกันl

La Saint-Valentin: (le 14 frévier)
Le fête des amoureux, on s'offre des fleurs, on s'envoie des cartes "Vive St Valentin"
La Saint-Valentin (14 กุมภาพันธ์)
วันแห่งความรัก มีการให้ดอกไม้ ส่งการด์  Valentin

Pâques: (entre le 22 mars et le 25 avril)
Pour les chrétiens, la résurrection du Christ, on offre des oeufs en chocolat ou en sucre aux enfants. Les cloches des églises sonnent partout.
Pâques (ระหว่างวันที่ 22 มีนาคมและ 25 เมษายน)
เพื่อคริตส์ศาสนา เป็นที่คืนชีพของพระเยซูคริตส์ มีการให้ไข่ช๊อกโกแลตหรือน้ำตาลแก่เด็กๆ แล้วมีการสั่นระฆังที่โบสถ์

Le Premier Mai: (le 1er mai)
C'est la fête du travail. On offre aux amis une branche ou un brin de muguet qui est un symbol du bonheur.
วันแรงงาน(วันที่ 1 พฤษภาคม)
มีการให้เพื่อนให้ดอก muget แก่ผู้ใช้แรงงานเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

วันวิสาขบูชา

 วันวิสาขบูชา 2558 วันนี้เรามี ประวัติวันวิสาขบูชา ความสําคัญวันวิสาขบูชาและการปฏิบัติตนในวันวิสาขบูชามาฝาก 
           วันวิสาขบูชา 2558 ตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน ซึ่งปกติวันวิสาขบูชา ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 แต่ปีนี้เป็นปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหนก็เลื่อนเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 นั่นเอง และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อม ๆ กันดีกว่าค่ะ


 ความหมายของวันวิสาขบูชา

          คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

 การกำหนดวันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้น ๆ

ประวัติวันวิสาขบูชาและความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...


วันวิสาขบูชา


1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
          เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"
          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส


วันวิสาขบูชา


2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

          หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ
          
           ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
           ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
           ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา

วันวิสาขบูชา



3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

          เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

          เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
                                                           

 ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย

          ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

          ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

          สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า  เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

          หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ  และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ
          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day  ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน


วันวิสาขบูชา


 การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา

การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

           1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา
           2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป
           3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

 กิจกรรมในวันวิสาขบูชา
กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่
           1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
           2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
           3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
           4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
           5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
           6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
           7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
           8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

 หลักธรรมที่สำคัญในวันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

          ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่
1. ความกตัญญู

          คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

          ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

2. อริยสัจ 4
          คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

           ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

           สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่าง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

           นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

           มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ  ดำริชอบ  วาจาชอบ กระทำชอบ  เลี้ยงชีพชอบ  พยายามชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตมั่นชอบ


3. ความไม่ประมาท
          คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ


          วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์  อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตค่ะ